วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คําราชาศัพท์
คําราชาศัพท์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์
 แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้


พระมหากษัตริย์
พระบรมวงศานุวงศ์
พระภิกษุ
ขุนนางข้าราชการ
สุภาพชน
ที่มาของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ
รับมาจากภาษาอื่น ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส  เป็นต้น
การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น



คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้
เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เสื้อ

รองท้า

ของเสวย

ที่นอน

ม่าน, มุ้ง

ถาดน้ำชา

คนโทน้ำ

ผ้าอาบน้ำ

ปืน

เข็มขัด


ประตู

เตียงนอน

ผ้าเช็ดตัว
ฉลองพระองค์

ฉลองพระบาท

เครื่อง

พระยี่ภู่

พระวิสูตร พระสูตร

ถาดพระสุธารส

พระสุวรรณภิงคาร

พระภูษาชุบสรง

พระแสงปืน

รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง

พระทวาร

พระแท่นบรรทม

ซับพระองค์ 
ผ้าเช็ดหน้า

กระจกส่อง

ข้าว


น้ำกิน

ตุ้มหู

ช้อน

ช้อนส้อม

ปิ่น

ไม้เท้า

หมาก  

น้ำชา

เหล้า

กางเกง
ซับพระพักตร์

พระฉาย

พระกระยาเสวย( พระมหากษัตริย์ )

พระสุธารส

พระกุณฑลพาน

ฉลองพระหัตถ์

ฉลองพระหัตถ์ส้อม

พระจุฑามณี

ธารพระกร

พานพระศรี

พระสุธารสชา

น้ำจัณฑ์

พระสนับเพลา พระที่ (ราชวงศ์)



คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย
ร่างกาย -- คำราชาศัพท์
ร่างกาย -- คำราชาศัพท์
ผม -- พระเกศา
ไหปลาร้า -- พระรากขวัญ
หน้าผาก -- พระนลาฎ
ท้อง -- พระอุทร
หลัง -- พระขนอง
นิ้วมือ -- พระองคุลี
บ่า -- พระอังสะ
จุก -- พระโมฬี
นม -- พระถัน, พระเต้า
นิ้วชี้ -- พระดรรชนี
จมูก -- พระนาสิก
ฟัน -- พระทนต์
อก -- พระอุระ, พระทรวง
หู -- พระกรรณ
เอว -- บั้นพระองค์, พระกฤษฎี
ลิ้น -- พระชิวหา
ผิวหนัง -- พระฉวี
ข้อเท้า -- ข้อพระบาท
ปอด -- พระปับผาสะ
ปาก -- พระโอษฐ์
คาง -- พระหนุ
รักแร้ -- พระกัจฉะ
ดวงหน้า -- พระพักตร์
ผิวหน้า -- พระราศี 

ลิ้นไก่ -- มูลพระชิวหา
ไรฟัน -- ไรพระทนต์
ตะโพก -- พระโสณี
แข้ง -- พระชงฆ์
นิ้วก้อย -- พระกนิษฐา
คอ -- พระศอ
เนื้อ -- พระมังสา
เหงื่อ -- พระเสโท
ปัสสาวะ -- พระบังคนเบา
สะดือ -- พระนาภี
อุจจาระ -- พระบังคนหนัก
ขน -- พระโลมา
เถ้ากระดูก -- พระอังคาร
น้ำลาย -- พระเขฬะ
ข้อมือ -- ข้อพระหัตถ์
คิ้ว -- พระขนง
น้ำตา -- น้ำพระเนตร,
ต้นขา -- พระอุรุ พระอัสสุชล
หัวเข่า -- พระชานุ
ต้นแขน -- พระพาหุ
ขนระหว่างคิ้ว -- พระอุณาโลม
เงา -- พระฉายา
จอนหู -- พระกรรเจียก



คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ราชตระกูล
คำศัพท์
คำราชาศัพท์ 
คำศัพท์
คำราชาศัพท์ 
พ่อ
พระชนก พระบิดา 
แม่
พระชนนี,พระมารดา 
ปู่, ตา
พระอัยกาพระอัยกี 
ย่า, ยาย
พระอัยยิกา 
ลุง
พระปิตุลา 
ป้า
พระปิตุจฉา 
พี่ชาย
พระเชษฐา 
พี่สาว
พระเชษฐภคินี 
น้องชาย
พระอนุชา 
ลูกสะใภ้
พระสุณิสา 
พ่อผัว, พ่อตา
พระสัสสุระ 
พี่เขย, น้องเขย
พระเทวัน 
ผัว
พระสวามี 
ลูกเขย
พระชามาดา 


คําราชาศัพท์หมวดคำกิริยา
 คำศัพท์
คำราชาศัพท์
คำศัพท์
คำราชาศัพท์
ถาม
พระราชปุจฉา
ดู  
ทอดพระเนตร
ทักทายปราศรัย
พระราชปฏิสันถาร
ให้
พระราชทาน
ไปเที่ยว
เสด็จประพาส
อยากได้ 
ต้องพระราชประสงค์
ทาเครื่องหอม
ทรงพระสำอาง
เขียนจดหมาย 
พระราชหัตถเลขา
ไหว้
ถวายบังคม
แต่งตัว 
ทรงเครื่อง
อาบน้ำ
สรงน้ำ
มีครรภ์ 
ทรงพระครรภ์
ตัดสิน
พระบรมราชวินิจฉัย
หัวเราะ 
ทรงพระสรวล
นอน
บรรทม
รับประทาน 
เสวย
นั่ง
ประทับ
ป่วย
ประชวร
ไป
เสด็จ
ชอบ
โปรด


คําราชาศัพท์หมวดสรรพนาม 
คำที่ใช้แทน
คำราชาศัพท์ 
ใช้กับ
แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1)
ข้าพระพุทธเจ้า 
กระผม, ดิฉัน 
พระมหากษัตริย์
ผู้ใหญ่, พระสงฆ์
แทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2)
ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท 
ใต้ฝ่าละอองพระบาท
พระมหากษัตริย์
พระบรมราชินี
พระบรมราชนนี
พระบรมโอสรสาธิราช
พระบรมราชกุมารี
แทนชื่อที่พูดด้วย
ฝ่าพระบาท 
เจ้านายชั้นสูง
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระคุณเจ้า 
พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระคุณท่าน 
พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระเดชพระคุณ 
เจ้านาย, หรือพระภิกษุที่นับถือ
แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3)
พระองค์ 
พระราชา, พระพุทธเจ้า, เทพผู้เป็นใหญ่
แทนผู้ที่พูดถึง
ท่าน  
เจ้านาย, ขุนนางผู้ใหญ่, พระภิกษุ, ผู้ใหญ่ที่นับถือ
คําราชาศัพท์หมวดพระสงฆ์
 คำสามัญ
ราชาศัพท์ 
คำสามัญ
ราชาศัพท์ 
สรงน้ำ
อาบน้ำ  
จังหัน
อาหาร 
คำสอน(พระสังฆราช)
พระโอวาท 
คำสั่ง(พระสังฆราช)
พระบัญชา 
จำวัด
นอน
ฉัน
รับประทาน
ธรรมาสน์(พระสังฆราช)
พระแท่น
จดหมาย(พระสังฆราช)
พระสมณสาสน์
นิมนต์
เชิญ
อาพาธ
ป่วย
ที่นั่ง
อาสนะ
จดหมาย
ลิขิต
ปัจจัย
เงิน
ปลงผม
โกนผม
เรือนที่พักในวัด
กุฏิ
ห้องอาบน้ำ
ห้องสรงน้ำ
ประเคน
ถวาย
เพล
เวลาฉันอาหารกลางวัน
ห้องสุขา
ถาน,เวจกุฎี
อาหาร
ภัตตาหาร
มรณภาพ
ตาย
ประเคน
ถวาย
คำแจ้งถวายจตุปัจจัย
ใบปวารณา
อาหารถวายพระด้วยสลาก
สลากภัต
อังคาด
เลี้ยงพระ
ลิขิต
จดหมาย
สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย
เสนาสนะ
เครื่องนุ่งห่ม
ไตรจีวร
ยารักษาโรค
คิลานเภสัช
คนรู้จัก
อุบาสก,อุบาสิกา
รูป
ลักษณนามสำหรัพระภิกษุ
องค์
ลักษณนามสำหรัพระพุทธรูป


วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


ชนิดของคำในภาษาไทย

ในการใช้ภาษา เราควรทราบว่า คำไหนมีที่ใช้อย่างไร เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร นักไวยากรณ์
ได้สังเกตความหมายและหน้าที่ของคำในประโยค แล้วจึงแบ่งคำในภาษาไทยออกเป็นหมวด หรือ ชนิด
ได้ 7 ชนิด คือ

 1. คำนาม
       2. คำสรรพนาม 
 3. คำกริยา
   4. คำวิเศษณ์
   5. คำสันธาน
  6. คำบุพบท
                        7. คำอุทาน

คำในภาษาไทย
คำในภาษาไทย มี ๗ ชนิด ดังนี้
๑.  คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ บุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ คำนาม
๒.  คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้เเทนคำนาม เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำๆ คำสรรพนาม
๓.  คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ หรือสภาพ หรือการกระทำในประโยค บางคำมีความหมายสมบูรณ์ แต่บางคำต้องอาศัยคำอื่นมาประกอบ หรือใช้คำประกอบคำอื่นเพื่อให้ความหมายชัดขึ้น
๔. คำวิเศษณ์ คือ คำที่ช่วยขยายคำอื่น ให้มีเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น หน้าที่ของคำวิเศษณ์
๕. คำบุพบท คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงคำหนึ่ง หรือกลุ่มคำหนึ่งให้สัมพันธ์กับคำอื่นหรือกลุ่มคำอื่น เพื่อบอกสถานที่ เวลา แสดงอาการ หรือเเสดงความเป็นเจ้าของ เช่น คำว่า กับ แก่ แต่ ต่อ จาก เพื่อ โดย จน บน ใต้ กลาง ของ สำหรับ ระหว่าง เฉพาะ
๖.  คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมประโยคกับประโยค ข้อความที่มีคำสันธานเชื่อมอยู่นั้นมักจะเเยกออกได้เป็นประโยคมากกว่าหนึ่งประโยค

๗.  คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อเเสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้พูด ส่วนมากจะไม่มีความหมายตรงตามถ้อยคำ แต่จะมีความหมายทางการเน้นความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ


คำในภาษาไทย
คำในภาษาไทย มี ๗ ชนิด ดังนี้
๑.  คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ บุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่
คำนาม แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้
     ๑.๑  นามทั่วไป หรือสามานยนาม เป็นคำนามที่ไม่ชี้เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คน นักเรียน บุรุษไปรษณีย์ กีฬา
     ๑.๒  นามชื่อเฉพาะ หรือวิสามานยนาม เป็นชื่อเฉพาะของบุคคล หรือสถานที่ เช่น สมศักดิ์ สุดา มีนบุรี ฉะเชิงเทรา
     ๑.๓  นามบอกลักษณะ หรือลักษณนาม เป็นคำนามบอกลักษณะ เช่น ผล ตัว อัน แท่ง ใบ
     ๑.๔  นามบอกหมวดหมู่ หรือสมุหนาม เป็นคำนามบอกหมวดหมู่ เช่น โขลง ฝูง หมู่ เหล่า
     ๑.๕  นามบอกอาการ หรืออารการนาม เป็นคำที่เกิดจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า การ หรือ ความนำหน้า เช่น การวิ่ง ความดี ความจริง